วันจันทร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2557

แบตสำรอง หรือ Power Bank ของง่ายๆ ที่ดูยากๆ ว่าด้วย ชนิตของแบตเตอรี่ และ การชาร์จไฟ

http://lenhune.blogspot.com/2013/08/blog-post.html
ขออนุญาตเขียนบทความแบบกระชับ สั้นๆ ตรงไปตรงมา เข้าใจง่าย 

Power Bank หรือที่เราเรียกกันว่า "แบตสำรอง" หรือ "แบตเตอรี่สำรอง" ทุกวันนี้ มีขายเกลื่อน แต่มีเสปก หมดเม็ดมาก แล้วควรดูยังไง 

สิ่งแรก ชนิดของ แบตเตอรี่ภายใน ที่ใช้กันอยู่ มี 3 ชนิด (แต่มักไม่บอกกัน)
     - Li-MH นิเกิล เมทัลไฮไดรต์ 
 แบตรสำรอง
        เป็นแบบที่ต้นทุนถูกที่สุด  ด้อยที่สุด. มี memory effect (ทุกครั้งที่ชาร์ต ความจุจะน้อยลงเรื่อยๆ) มีการคายประจุเร็ว แม้ไม่ได้ไช้  แต่จะได้ความจุไฟที่สูง แต่ราคา ก็ถูกมาก ในประสิทธิภาพที่ต่ำ
         ถ้าท่านเจอ Power Bank ที่ไม่ได้บอกว่า เป็น แบตชนิดไหน สันนิษฐานไว้ก่อนเลยว่า เป็นประเภทนี้ อย่าหลงไหลกับ พวกความจุสูง ราคาถูก โดยที่ไม่บอกว่าแบตอะไร?

        - Li-ion ลิเธียมไอออน
null
          ไม่มี memory effect เป็นแบบที่ใช้เป็น แบตมือถือนั่นแหละ เพราะมัน เหมาะสมที่สุด แต่..ช้าก่อน .. มันไม่เหมาะ เอามาเป็น Power Bank
ข้อดีของลิเธียมไอออน
- ความหนาแน่นพลังงานสูง
- ไม่จำเป็นต้องกระตุ้นก่อนใช้ หลังจากเก็บเป็นเวลานาน
- อัตราการคายประจุตัวเองต่ำ
- ไม่ต้องดูแลรักษามาก
ขีดจำกัดของลิเธียมไอออน
- จำต้องใช้วงจรป้องกันแรงดันและกระแสให้อยู่ในเขตปลอดภัย
- มีการเสื่อมอายุตามเวลาแม้ว่าจะไม่มีการใช้งาน
- อัตราการจ่ายกระแสไม่สูงมาก ไม่เหมาะกับงานที่ใช้โหลดหนักๆ
          เนื่องจาก พวกมือถือนั้นออกแบบให้ใช้พลังงานน้อย จึงเหมาะที่จะใช้ Li-ion เพราะ ข้อจำกัดของมันในข้อสุดท้ายนี่เอง 
          แต่จะเป็นอย่างไร ถ้าเอามาทำ Power Bank ??
          คำตอบคือ มันจะชาร์ตมือถือ หรือ Tablet ได้ช้ามากๆ  คุณคงไม่ชอบ ถ้าการชาร์ตแบตสำรองแบบฉุกเฉินแล้ว ต้องรอนานใช่ไหม ? เพราะ มันจ่ายกระแสได้น้อย 
          พวกความจุสูงสุดติ่ง ประมาณว่า ให้ชาร์ต แท็บเล็ตได้ แต่จ่ายกระแสได้แค่ 1A (1000mA) So what !! เพื่ออะไร = =’  
          ยังมีแบบหมกเม็ดได้อีก เช่น จ่ายได้ 2 ช่อง ระบุว่า ช่องละ 1A  แต่ไม่บอกหรอกนะ ..ว่าถ้ามันจ่ายพร้อมกัน ..มันจะได้ รวมกันได้ 1A ไม่ได้แยกกัน = =’  
          อีกทั้ง Li-ion ที่ชอบเอามาทำ power bank กันนั้น ข้างใน จะเป็นพวก แบต ขนาต 18650 (ทรงกระบอกแบบเดียวกับที่อยู่ในแบตโน๊คบุ๊ค) เพราะหาง่าย ไม่ต้องผลิตไหม่ ทำให้เทอะทะ และ รูปทรง อวกาศ
          ผมว่าพวกท่านเคยเห็น แบบเป็น ก้อนๆ แท๊งค์ๆ อ่ะ = =’ แต่ก็มี power bank บางยี่ห้อ (นิยมซะด้วย) ที่เป็น Li-ion แบบก้อนเหลี่ยมผลิตใหม่ และสเปก ก็จ่ายกระแสได้สูง 2 A ในบางรุ่น ซึ่งมันก็จ่ายได้จริงนั่นแหละ แต่มันก็เป็น Li-ion อยู่ดี เพราะ เกิดจากการนำ Li-ion หลายๆ เซลล์ มาต่อขนานกัน
          ปัญหาคืออะไร ? 
          ปัญหาคือ การทำแบบนั้น ..ได้ กระแสที่จ่ายได้เพิ่มขึ้นมาก็จริง แต่  Li-ion แต่ละเซลล์ มันจะเสื่อมไม่เท่ากัน เพราะมันคนละเซลล์  (ขออนุญาตไม่กล่าวลึกเชิงเทคนิค เดี๋ยวจะเลิกอ่านกันไปซะก่อน)  ความจุที่เหลือ ...มันจะเท่ากับ เซลล์ ที่เสื่อมมากสุด แม้เซลล์อื่นๆ ยังไม่เสื่อม ! มันจะมีปัญหามาก เมื่อ เราใช้หมด 100%  เค้าจึงมันจะแนะนำเราว่า ...อย่าใช้หมด 100% ให้ชาร์ตบ่อยๆ พอเหลือ 20% ให้เลิก ใช้ ให้นำไปชาร์ต 
           แปลว่าเรา ซื้อ แบตมา 100 เราควรใช้มันแค่ 80 .... So what !! เพื่ออะไร = =’

          - Li-po ลิเธียมโพลีเมอร์ 
null
          จริงๆ มันคือแบต Li-ion ชนิดหนึง ที่ ถูกต่อยอด  แต่ต่างจากลิเธียมไอออนธรรมดา ตรงที่ ชนิดของสารอิเลกโตรไลท์
          ลิเธียมโพลีเมอร์ ใช้ฟิล์มคล้ายพลาสติกร่วมกับอิเลกโตรไลท์ชนิดเจล แทนที่จะใช้แผ่นเมมเบรนที่มีรูพรุน เป็นตัวส่งผ่านไอออน
          ลิเธียมโพลีเมอร์ ง่ายต่อการผลิต มีความแข็งแรง ปลอดภัย และบาง สามารถทำให้บางได้ถึง 1 มิลลิเมตร สามารถผลิตให้เป็นรูปทรงต่างๆ ได้ตามความต้องการของการใช้งาน
ข้อดี (ที่เพิ่มขึ้นมาจาก Li-ion) ของลิเธียมโพลีเมอร์
- สามารถทำให้บางมากๆ ได้ เช่น แบตเตอรี่ขนาดบางเท่าบัตรเครดิต
- ไม่จำกัดรูปแบบ ผู้ผลิตไม่จำต้องจำกัดอยู่แค่ขนาดเซลมาตรฐาน ขนาดที่ต้องการสามารถสั่งผลิตได้
- น้ำหนักเบาที่สุดในทุกแบบ ใช้เพียงห่อแล้วซีลแบบง่ายๆ ไม่ต้องใช้ตัวถังโลหะ
- ปลอดภัย รับการชาร์จไฟเกินได้มากกว่า และ โอกาสของการรั่วของอิเลกโตรไลท์ลดลง
- จ่ายกระแสได้สูงมาก สูงกว่าทุกแบบ (ในวงการ RC จึงนิยมมาก)
ขีดจำกัดของลิเธียมโพลีเมอร์
- ความหนาแน่นพลังงานต่ำกว่า และจำนวนรอบการใช้งานที่ต่ำกว่าลิเธียมไอออนธรรมดา (รอบการใช้งานของ ลิเธียมโพลีเมอร์ คือประมาณ 500 ครั้ง 
          (1 ครั้งในที่นี้หมายถึง หมด100% ชาร์เต็ม100% = 1 ครั้ง หมด 50% ขาร์ตเต็ม 100% = 0.5 ครั้ง)
- ราคาแพงกว่า ทุกแบบ
- อัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อพลังงานที่เก็บได้ มีค่าสูงกว่าลิเธียมไอออน
          มันเป็นแบบที่เหมาะกับ Power Bank มากที่สุด! 
          ในความจุเท่ากัน มันเบากว่า คงไม่มีใครอยากพกของหนัก มันจ่ายกระแสได้สูงกว่า ชาร์ตมือถือ แท็บเล็ตได้เร็วกว่
              แม้ว่ารอบการใช้งานมันจะต่ำกว่า Li-ion แต่มันไม่ต้องขนานหลายเซลล์ มันจึงเสื่อมช้ากว่า ใช้ได้หมด 100% ไม่มีปัญหา

          ในการใช้งาน ที่กระแสเท่ากัน Li-po จะไม่ร้อน (เทียบที่กระแสสูงสุดที่ Li-ion จ่ายได้) แต่กับ Li-ion นั้นมันจะร้อน
           นั้นเป็นสาเหตุของแบตเสื่อม! ที่เป็นสาเหตุว่า ทำไมเวลาคุยโทรศัพท์มือถือนานๆ แล้วมันร้อน..เพราะตอนโทร ใช้กระแสสูงกว่าปกติ และมันป็น Li-ion นั้นเอง

          จึงขอฟังธงว่า Li-po ประสิทธิภาพดีที่สุดถ้าจะนำมาทำ Power Bank 

          เรื่องต่อมา...การชาร์ตไฟเข้า Power Bank 

          การชาร์ตไฟเข้านั้น.. แม้ว่า แบต Li-po นั้นสามารถชาร์ตด้วยกระแสสูงได้ ส่วน Li-ion นั้นต้องควบคุมกระแสชาร์ต อยู่แล้ว เพราะ ระเบิดง่าย..

          แต่การชาร์ต อย่างเร็ว ด้วยกระแสสูง ไม่ว่าแบตชนิดไหน..มันจะร้อน !! และมันคือสาเหตุหลัก ที่ทำให้ แบตเสื่อม!

          Power Bank ที่ดี ต้องมีวงจรจำกัดกระแส ในการชาร์ต เพื่อรักษา และยืดอายุ แบตให้ ไม่เสื่อมเร็ว และอยู่ได้นานๆ

          Power Bank บางยี่ห้อแม้จะเขียนสเปกบอกไว้ แต่มันไม่มีวงจรนั้น ถ้าชาร์ตด้วยที่ชาร์ต 1A มันก็ชาร์ตเต็มๆ 1A ถ้าชาร์ตด้วยที่ชาร์ต 2A มันก็ชาร์ตเต็มๆ 2A !! มันเร็ว แต่มันร้อน และอยู่กับคุณไม่นาน..

          นอกจากวงจรจำกัดกระแส..ชาร์ตเข้าแล้ว แม้ว่ามือถือทั่วไปสมัยนี้ จะมีวงจรจำกัดกระแสชาร์ตของมันเองอยู่ ประมาณ 500-800mA - 1A ในบางรุ่น ส่วนแทปเล็ต ก็ 1.5-2.1A

          แต่ Power Bank ที่ดีต้องมีวงจรควบคุมด้วย..สำหรับพวกที่ใช้ Li-po ต้องมีแน่ๆ ไม่งั้นมันจ่ายระเบิดระเบ้อ

          แต่พวกที่ใช้ Li-MH, Li-ion รุ่นที่ลดต้นทุน มันปล่อยให้หน้าที่นี้เป็นของแบตไปเลย เพราะมันจ่ายได้ไม่มากอยู่แล้ว ซึ่งมันไม่ควร .. แบตจะร้อนมาก เพราะใช้กระแสสูงสุดที่มันทำได้ ต่อเนื่อง

          นอกนั้นก็เป็นรูปลักษณ์ภายนอก และออฟชั่นต่างๆ แล้วแต่จะจินตนาการ

ความรู้เพิ่มเติมเรื่องของการลงทุนการทำกำไรในตลาด Forex

การวิเคราะห์ทางเทคนิค เเละ การหาจังหวะเข้าทำกำไร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น